ปัจจุบัน โลกของธุรกิจมีการแข่งขันค่อนข้างมาก ไม่ว่าจะด้วยคู่แข่งทางตรงที่มีผลิตภัณฑ์และบริการที่เหมือนกับเรา ไม่ว่าจะเป็นคู่แข่งทางอ้อมที่มีผลิตภัณฑ์และบริการที่ใกล้เคียงกัน สามารถใช้ทดแทนสินค้าเราได้ หรือแม้กระทั่งการแข่งขันทางด้านการตลาด โปรโมชั่นต่าง ๆ เพื่อดึงดูดลูกค้าให้มาใช้ผลิตภัณฑ์และบริการเหล่านั้น สิ่งที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถทำผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบโจทย์ลูกค้าได้เป็นอย่างดี คือ การเข้าไปทำความเข้าใจถึงปัญหาของผู้ใช้งานจริงในขณะใช้งาน เพื่อนำฟีดแบคต่าง ๆ เหล่านั้นกลับมาปรับปรุง พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าให้ได้มากที่สุด
เครื่องมือที่ผู้ประกอบการ SMEs หรือแม้กระทั่งบริษัทขนาดใหญ่ นำมาช่วยในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของตนนั้น คือ การทำ “Design Thinking” ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ผู้ประกอบการสตาร์ทอัพนิยมนำมาใช้ในการออกแบบความคิดให้เป็นระบบระเบียบ เพื่อค้นหาแนวทางใหม่ ๆ ในการคิดค้นนวัตกรรมหรือ Innovation ต่าง ๆ ได้
แล้ว Design Thinking คืออะไร ทำไมถึงเป็นเครื่องมือที่นิยมใช้ในเหล่าสตาร์ทอัพ
Design Thinking คือ กระบวนการคิดเชิงออกแบบอย่างเป็นระบบ โดยเข้าไปทำความเข้าใจถึงปัญหาของผู้ใช้งานจริง และทำการค้นหาแนวทางการแก้ไขปัญหาเหล่านั้น ด้วยการคิดนอกกรอบ มองวิธีแก้ปัญหารอบด้านอย่างสร้างสรรค์ และด้วยความที่กระบวนการทำนั้นเรียบง่าย สามารถประยุกต์ใช้ได้กับทุกธุรกิจ จึงเป็นเครื่องมือยอดฮิตในเหล่าสตาร์ทอัพ เพื่อช่วยในการค้นหาไอเดียใหม่ ๆ ในการสร้างนวัตกรรมด้วย
การทำ Design Thinking เป็นกระบวนการที่ทำให้เราได้ฝึกคิดเชิงสร้างสรรค์ แปลกใหม่ เน้นความรวดเร็ว เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ ทดลองใช้งาน กลับมาปรับปรุงแก้ไข และทดลองซ้ำให้ไวที่สุด โดยผ่านกระบวนการต่าง ๆ 5 ขั้นตอน ได้แก่ Empathize, Define, Ideate, Prototype และ Test
ออกแบบกระบวนการคิดอย่างไร ในสไตล์ Design Thinking
1. Empathize - เข้าใจปัญหาของผู้ใช้งาน
สิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการต้องตอบคำถามตนเองให้ได้คือ ผู้ใช้งานหรือกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ผลิตภัณฑ์และบริการคือใคร ผู้ใช้งานมีความต้องการอะไร โดยเริ่มต้นด้วยการนำปัญหาของผู้ใช้งานจริง มาเป็นจุดตั้งต้นในการค้นหาคำตอบ ด้วยการตั้งคำถาม อาจมีการสร้างสมมติฐาน ผ่านการออกไปสัมภาษณ์ผู้ใช้งาน ใช้วิธีการสังเกต หรือใช้แบบสอบถาม ในการทำความเข้าใจปัญหาของผู้ใช้งาน ยิ่งทำความเข้าใจในปัญหาได้ลึกซึ้งมากเท่าไหร่ ยิ่งนำไปสู่การแก้ไขปัญหาได้ตรงประเด็นมากขึ้นเท่านั้น
2. Define - กำหนดปัญหาให้ชัดเจน
หลังจากรวบรวมประเด็นปัญหาจากผู้ใช้งานต่าง ๆ ได้แล้ว ขั้นต่อไปคือการสรุปปัญหาเหล่านั้น โดยตอบโจทย์ให้ได้ว่า ใคร อะไร ทำไม เพื่อนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์และกลั่นกรอง แล้วทำการกำหนดปัญหาให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
3. Ideate – ระดมสมอง
ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่หลายองค์กรนิยมใช้ คือ การระดมพลังสมอง หรือ Brainstorm โดยนำปัญหาที่ต้องการแก้ไข มาแตกประเด็นต่าง ๆ รวบรวมไอเดีย ความคิดใหม่ ๆ ซึ่งส่วนใหญ่มักมีการระดมสมองกันเป็นทีม ยิ่งคนในทีมมีความแตกต่างกันมากเท่าไหร่ เช่น อายุ ตำแหน่งงาน ก็จะได้ไอเดียที่มีแตกต่างกันมากขึ้น ซึ่งขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ชวนให้เราฝึกคิดนอกกรอบ เสนอไอเดียต่าง ๆ ออกมาได้อย่างไม่มีถูกมีผิด
หลังจากที่เรามีไอเดียต่าง ๆ มากมาย อาจทำการจับกลุ่มไอเดียที่เหมือนกันหรือใกล้เคียงกัน หรือมีการจับกลุ่มไอเดียประเภทเดียวกันไว้ด้วยกัน เพื่อช่วยในการสังเคราะห์ไอเดียเหล่านั้นมาสรุปอีกทีหนึ่ง เพื่อนำไปสู่การสรุปว่าจะนำไอเดียไหนไปทดลองก่อน ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเลือกไอเดียที่สามารถทำได้จริงหรือได้ผลมากที่สุดเป็นอันดับแรก
4. Phototype - สร้างแบบจำลอง
การสร้างแบบจำลองหรือตัวต้นแบบก่อนนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์หรือใช้งานจริง ช่วยให้ผู้ประกอบการประหยัดเวลา ค่าใช้จ่ายไม่บานปลาย และสามารถแก้ไขปรับปรุงได้ง่าย ซึ่งในการสร้าง Phototype เป็นการนำไอเดียที่ดีที่สุดมาใช้ในการสร้างแบบจำลอง และผู้ประกอบการควรตอบคำถามให้ได้ว่าแบบจำลองนี้สามารถตอบโจทย์ผู้ใช้งานได้ดีมากน้อยแค่ไหนด้วย
5. Test - การนำแบบจำลองไปทดสอบจริง
เมื่อเราสร้างแบบจำลองหรือตัวต้นแบบเสร็จแล้ว ขั้นตอนนี้เป็นการนำแบบจำลองไปทดสอบใช้งานในภาคสนาม เพื่อเก็บข้อมูลจากผู้ใช้งานว่าแบบจำลองนี้มีข้อดี ข้อเสีย ตอบโจทย์ หรือไม่ตอบโจทย์ในการใช้งานจริงอย่างไร เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นกลับมาแก้ไขปรับปรุงแบบจำลองใหม่ หรือหากไอเดียนั้นถึงทางตัน ไม่สามารถไปต่อได้ ก็สามารถนำไอเดียอื่น ๆ ที่เคยระดมสมองไว้มาทำการสร้างตัวต้นแบบใหม่ได้เช่นเดียวกัน
ประโยชน์ของการทำ Design Thinking นอกจากจะช่วยให้คนในองค์กรได้ฝึกคิดอย่างเป็นระบบแล้ว ยังเป็นกิจกรรมที่ช่วยละลายพฤติกรรม ให้คนในองค์กรกล้าที่จะเสนอไอเดียใหม่ ๆ เปิดรับการแสดงความคิดเห็นของผู้อื่น และช่วยให้คนในทีมสามารถทำงานร่วมกันเป็นทีมเวิร์คได้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ ในการทำ Design Thinking หากบริษัทหรือองค์กรไหนไม่เคยทำมาก่อน ผู้ประกอบการหรือคนในองค์กรไม่เคยมีประสบการณ์ในการทำ อาจจะต้องมีคนหลักในการขับเคลื่อนกระบวนการขั้นตอนต่าง ๆ ให้สามารถไปต่อได้ไม่สะดุด
นอกจากเครื่องมืออย่าง Design Thinking ที่เป็นผู้ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถแก้ไขปัญหาหรือคิดค้นไอเดีย นวัตกรรมใหม่ ๆ แล้ว ยังมีเครื่องมืออีกมากมายที่ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถนำพาธุรกิจของคุณให้เติบโตได้ เช่น MatchLink ซึ่งเป็น Social Business Platform ที่ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ผู้ประกอบการ SMEs โดยมีฟีเจอร์ต่าง ๆ มากมายที่ช่วยรองรับธุรกิจของคุณ ไม่ว่าจะเป็น ฟีเจอร์ในการช่วยค้นหาคอนเนคชั่น ฟีเจอร์ที่ช่วยในเรื่องการขาย ข้อมูลต่าง ๆ ที่ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจทางธุรกิจ และยังเป็นแหล่งสินเชื่อถูกกฎหมาย ทั้งหมดนี้ผู้ประกอบการสามารถใช้งานได้ ฟรี ผ่านทาง www.matchlink.asia
🏦 ยื่นขอสินเชื่อธุรกิจง่ายไม่ต้องไปธนาคาร 👉 ขอสินเชื่อ
🎶 TikTok 👉 https://www.tiktok.com/@matchlink
🕴 เข้าถึงลูกค้าและคู่ค้ามากขึ้น 👉 https://bit.ly/MatchLink_Register
Comentarios